ศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่มีความสวยงาม ประณีต สามารถสร้างความบันเทิงให้กับผู้ที่รับชมได้ ศิลปะเกิดจากความคิดและความรู้สึกของมนุษย์
แต่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากผู้นั้นไม่ได้ถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวตามความคิดของตนเองค่ะ มนุษย์นั้นมีความคิดเป็นของตนเอง ดังนั้น ผลงานที่ได้จึงออกมาแตกต่างกันนั่นเอง
สำหรับ ศิลปะอินเดีย ก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นประเทศที่มีอารยธรรมเก่าแก่ จึงมีหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงถึงวิถีชีวิตของชาวอินเดีย เราจะแบ่งรูปแบบศิลปะของอินเดียออกเป็น 5 แบบ ดังนี้
ศิลปะแบบสัญจี
ลักษณะในการสร้างสถานที่หรือวัตถุต่าง ๆ ของประเทศอินเดียในสมัยนี้ จะมีการสร้างสถูปเป็นทรงคว่ำ สถูปนี้ได้ชื่อว่าเป็น “สถูปสาญจี” ซึ่งภายหลังก็ได้เป็นต้นแบบให้กับการสร้างสถูปอื่น ๆ ในยุคสมัยหลังจากนี้ด้วยค่ะ อีกทั้งสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคนี้ก็คือ…
ประติมากรรมลอยตัวและภาพสลักนูนต่ำนั่นเองค่ะ
ซึ่งศิลปินจัดทำขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธและเทพเจ้าต่าง ๆ นั่นเองค่ะ
ศิลปะแบบคันธาระ
ศิลปะในยุคนี้นิยมสร้างผลงานทางศิลปะ โดยการใช้หินหรือปูนปั้นค่ะ วิธีในการสร้างผลงานทางศิลปะของชาวอินเดียในยุคคันธาระนั้นจะใช้การปั้นรูปเป็นส่วนใหญ่
ยุคสมัยนี้ถือเป็นยุคแรกและเป็นยุคที่เก่าแก่ที่สุดสำหรับการ “ปั้นพระพุทธรูป” นั่นเอง
เพราะในสมัยก่อนชาวอินเดียไม่กล้าที่จะสร้างรูปปั้นของพระพุทธเจ้าค่ะ นี่เป็นจุดเริ่มต้น จากนั้นก็มีการสืบสานการปั้นพระพุทธรูปให้คงอยู่ไว้จนถึงยุคปัจจุบันและยุคอื่น ๆ สืบไปค่ะ
ศิลปะแบบมธุรา
สำหรับลักษณะผลงานในยุคนี้หรือที่เรียกกันว่าแบบมธุรานั้น สิ่งที่ศิลปินนิยมสร้างให้เป็นผลงานของตนเองนั้น ก็ยังคงมีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอีกเช่นเคยค่ะ เหมือนกับยุคที่ผ่านมา
โดยในยุคนี้ผู้สร้างผลงานนั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในการปั้นพระพุทธรูปค่ะ โดยปั้นให้คล้ายกับชาวอินเดียมากขึ้นนั่นเอง ถือว่าเป็นยุคหนึ่งที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นสำหรับศิลปะของอินเดียค่ะ
ศิลปะแบบอมราวดี
รูปแบบของผลงานศิลปะในยุคสมัยอมราวดีนี้ เป็นศิลปะที่แปลกใหม่มากทีเดียวค่ะ ไม่เหมือนกับสมัยก่อน ๆ เลยค่ะ ถึงแม้วิธีการนำเสนอผลงานจะเป็นการปั้นและการแกะสลักดังเดิม
แต่ในยุคนี้การปั้นนั้นไม่มีรูปร่างที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะภาพของบุคคลค่ะ
ศิลปะแบบคุปตะ
สำหรับผลงานทางศิลปะของอินเดียในยุคคุปตะนั้น เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบเลยทีเดียวค่ะ เพราะได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงรูปร่างหรือรูปทรงของผลงานให้ดียิ่งขึ้น สัดส่วนและมิติต่าง ๆ นั้นดูสมจริงมาก
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้รูปแบบการสร้างงานศิลปะในยุคนี้ มีอิทธิพลต่อยุคสมัยใหม่สืบมานั่นเองค่ะ